ความเป็นมา
16 กุมภาพันธ์ 2564 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานมอบนโยบาย อว. ส่วนหน้าทั่วประเทศ โดยมี ศ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงฯ, ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากูล รองปลัดกระทรวงฯห้องประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันการศึกษาและหัวหน้าหน่วย อว.ส่วนหน้า เข้าร่วมรับฟังนโยบายการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ณ ห้องประชุม ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อว.ส่วนหน้าจะเป็นข้อต่อสำคัญเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ อว. เดิมเรียกโครงการนี้ว่า 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย หมายความว่าตำบลเป็นหน่วยหลัก แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ซึ่งต่างจากโครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน แม้จะมีบทบาทดูคล้ายกัน เพราะเป็นพัฒนาเหมือนกัน แต่ว่าที่ต่างกันคือโครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันเป็นงานของจังหวัด จังหวัดเป็นคนคิด วางแผน แต่ว่ามหาวิทยาลัยสู่ตำบลเป็นงานของ อว. เอง มีงบประมาณที่จะจ้างคนไปเป็นกำลังสำคัญ เรียกได้ว่าจ้างงานคนที่ว่างงาน ได้แก่ บัณฑิตที่จบมาไม่เกิน 3 ปี, นักศึกษาที่อยู่ปี 3 ปี 4 แล้วก็ชาวบ้าน รวมกันทั้งหมดก็ 60,000 คน ไปช่วย 3,000 ตำบล แต่ละตำบลก็จะมีงบให้ไปดำเนินการจะเรียกว่างบพัฒนา งบประมาณตำบลละประมาณ 800,000 บาท เพราะฉะนั้นก็แปลว่ามหาวิทยาลัยสู่ตำบล (1) คน (2) เงิน (3) แผนการที่จะทำงานต่าง ๆ
สรุปก็คือ อว. ส่วนหน้าที่มาทำมหาวิทยาลัยสู่ตำบลต้องไปดูแลมหาวิทยาลัยอาจจะเป็น 10 มหาวิทยาลัยที่ลงในจังหวัดหนึ่ง ที่ อว. ส่วนหน้ารับผิดชอบอยู่ ซึ่งต้องทำอย่างมีความเป็นเอกภาพของจังหวัด แล้วก็เข้าไปอยู่ในบริบทของจังหวัดเหมือนกัน ในการที่จะต้องประสานกับทีมของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ให้ทำงานแบบรายตำบลแล้วก็ไม่ประสานกับตำบลไหนเลย แล้วก็ไม่ประสานกับตำบลที่อยู่คนละมหาวิทยาลัย อันนี้ก็เป็นงานของ อว. ส่วนหน้าที่จะต้องช่วยทำ
หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ความเป็นมา. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2567, จาก https://asl.kpru.ac.th/MHESI/?lang=TH&page_id=2